วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วีดีโอ โครงงาน สุขศึกษา/พลศึกษา
ตัวอย่างโครงงาน สุขศึกษา
โครงงานเรื่องการทำสมุนไพรไล่แมลง
กลุ่มสาระสุขศึกษา/พลศึกษา
นายอธิป สะดา
ครูอัตราจ้าง
โรงเรียนบ้านบุ่งคล้า
สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2
โครงงานเรื่องการทำสมุนไพรไล่แมลง
เเนวคิดที่มาและความสำคัญ
ในการทำการเกษตรกรรม การเพาะปลูก จะต้องมีแมลงมาทำลายผลผลิตที่ได้ และส่วนใหญ่มักจะแก้ปัญหาด้วยการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ซึ่งส่งผลต่อผู้บริโภคและสภาพแวดล้อม จึงได้ช่วยกันเสนอความคิดที่จะใช้สารสกัดจากสมุนไพรแทนการใช้สารเคมีในการไล่แมลง และได้ทำการทดลองโดยผลการทดลองที่ได้พบว่าสามารถใช้ไล่แมลงได้จริง
จุดมุ่งหมาย
1.เพื่อเเก้ปัญหาการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช
2.เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพของสมุนไพรในการไล่เเมลง
3.เพื่อฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เเละฝึกการคิด วิเคราะห์
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
โครงงานเรื่อง สมุนไพรไล่เเมลง เล่มนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงสรรพคุณในการไล่เเมลง ไม่ได้ศึกษาถึงชนิดของสารชื่อ ส่วนประกอบของสารที่มีอยู่ในสมุนไพรที่มีอยู่ในตัวสมุนไพรนั้น
เเผนการปฏิบัติโครงงาน
วันที่ | เรื่องที่ดำเนินการ |
ภายในเดือน กันยายน 2554 | 1.วางเเผนกำหนดหัวเรื่อง โครงงานที่ต้องการศึกษา |
2.ประชุม เเบ่งงานให้สมาชิกดำเนินการ | |
3.รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง | |
4.ค้นคว้าหาข้อมูล รวบรวมข้อมูล | |
5.ประชุม รวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากสมาชิก | |
6.จัดเรียงข้อมูลทั้งหมด | |
7.จัดทำตัวโครงงาน | |
8.ตรวจทานเเก้ไข เเละเพิ่มเติมข้อมูล | |
9.นำเสนอผลงาน |
สารสกัดจากข่าและพริกไทยไล่แมลง | ||
จุดประสงค์ | ||
ผลิตสารไล่แมลงจากพืชผักสวนครัว | ||
วัสดุ-อุปกรณ์ | ||
1. หัวข่า 2 หัว 2. พริกไทยป่น 2 ช้อนชา 3. ตะเกียงแอลกอฮอล์ 4. บีกเกอร์ขนาด 250 ลูกบาศก์เมตร 5. แท่งแก้วคน 6. ผ้ากรอง และกระดาษกรอง 7. บีกเกอร์ | ||
วิธีทำ | ||
1. ตำหัวข่าให้ละเอียด คั้นน้ำข่าให้ได้ 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร 2. นำพริกไทยป่น 2 ช้อนชา ใส่ในบิกเกอร์ เติมน้ำ 40 ลูกบาศก์เมตร นำไปให้ความร้อน คนพริกไทยให้ละลาย 3. ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น กรองน้ำพริกไทย 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร 4. เอาน้ำข่าและน้ำพริกไทยเทผสมกัน เติมน้ำสะอาด 20 ลูกบาศก์เมตรคนให้เข้ากัน | ||
การใช้งาน | ||
- ฉีดพ่นฆ่ามดที่เป็นตัวการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้ง เพลี้ยน้ำตาลบนต้นพืช - ฉีดพ่นบนผิวของผลไม้ป้องกันการวางไข่ของแมลง - ฉีดพ่นบนแปลงผักป้องกันเพลี้ยและแมลงกัดกินใบพืช | ||
ข้อแนะนำ | ||
พริกไทยป่นที่ขายตามท้องตลาดอาจไม่บริสุทธิ์ อาจตำพริกไทยป่นเองก็ได้ |
คะแนนสอบกลางภาคสุขศึกษา 54 โรงเรียนบ้านบุ่งคล้าออกแล้ว
นักเรียนชั้นใดคะแนนไม่ดีมาสอบแก้ตัวได้นะครับ
ขอให้มาติดต่อ
ก่อน สิ้น เดือนสิงหาคม 54
จากความหวังดี ครูอธิป สะดา
ขอให้มาติดต่อ
ก่อน สิ้น เดือนสิงหาคม 54
จากความหวังดี ครูอธิป สะดา
วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554
โรงเรียนบ้านบุ้งคล้า
มีผู้มาตรวจโรงเรียนตามจุดเน้น วันที่ 29 ครับ
พวกเราช่วยกันนะครับ

และขอให้บ้าน ผอ.สถิตย์ กับสู่คืนสู่สภาพปกติจากเหตุการณ์น้ำท่วมนะครับ
ครูสุธอม และคณะได้ไปช่วยกันทำความสะอาดเบื่่องต้นแล้ว
พวกเราช่วยกันนะครับ
และขอให้บ้าน ผอ.สถิตย์ กับสู่คืนสู่สภาพปกติจากเหตุการณ์น้ำท่วมนะครับ
ครูสุธอม และคณะได้ไปช่วยกันทำความสะอาดเบื่่องต้นแล้ว
วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554
การรับรางวัลคนกีฬา
สยามกีฬาอวอร์ดส์เผยโฉม5ฮีโร่ขวัญใจมหาชน
|
04/01/2010 20:29:36
|
ประวัติความเป็นมาของบริษัท |
วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554
สื่อพลศึกษาชนิดต่างๆ
พลศึกษา เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ได้รับการถ่ายทอดมานานจากคนตะวันตก ที่เน้นร่างกายเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าจิตใจ ที่มีความแข็งแรง ความเร็ว ความอ่อนตัว ความคล่องแคล่ว ความทนทาน และระบบไหลเวียนโลหิต จนมีหลักการที่พูดกันว่า A SOUND MIND IN A SOUND BODY หรือ จิตใจที่แข็งแกร่งย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง แต่ในความเป็นจริง คนตะวันออก พูดถึงพลศึกษามานานในรูปแบบทางจิตใจ นั่นคือ พละ 5 ธรรมที่เป็นพลัง มีสัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา แต่ไม่ได้รับการตอบรับมากนัก จนมีหลักการที่ว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว จึงเห็นได้ว่า พลศึกษาต้องเกี่ยวโยงทั้งสองด้านคือ ร่างกายและจิตใจ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ และทั้งคู่ต้องทำงานไปพร้อมๆกัน และที่สำคัญต้องบังคับร่างกายให้ได้ตามที่ต้องการและควบคุมจิตใจตนเองให้นิ่ง
พลศึกษา ประกอบด้วย สรีรวิทยาการออกกำลังกาย,วิทยาศาสตร์การกีฬา,จิตวิทยาการกีฬา,ชีวกลศาสตร์และกีฬาเวชศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาเหล่านั้นจัดเป็นสาขาวิชาหนึ่งหรืออาจเป็นภาควิชาหนึ่งหรือคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัย
พลศึกษาในเชิงร่างกาย
พลศึกษาในเชิงร่างกาย ก็คือการทำให้ร่างกายมีพลังที่เป็นรูปธรรม ประกอบด้วย
1 ความแข็งแรง เช่น ข้อมือ สามารถยกสิ่งของหนักได้
2 ความเร็ว เช่น การวิ่งระยะสั้น 50 เมตร ในเวลาที่กำหนด
3 ความอ่อนตัว เช่น การก้มตัว เข่าตึง ไปหยิบของบนพื้น
4 ความคล่องแคล่ว เช่น การโยกลำตัวหลบหลีกสิ่งกีดขวาง
5 ความทนทาน เช่น การเดินเร็ว หรือวิ่งระยะทางไกล เป็นเวลานาน
6 ระบบไหลเวียนโลหิต เช่น การที่เหงื่อออกจากร่างกาย และการจับชีพจรตามเกณฑ์ที่กำหนด
[แก้]พลศึกษาในเชิงจิตใจ
พลศึกษาในเชิงจิตใจ ก็คือ พละ 5 แปลว่าธรรมอันเป็นกำลัง ที่สถิตย์ในจิตใจคน มีพลังเป็นนามธรรม ประกอบด้วย
1 ศรัทธา - ความเชื่อ คือเชื่อว่าจิตของคนมีพลังแฝงทุกขณะ
2 วิริยะ - ความเพียร คือคนมีความมุ่งมั่น ตั้งใจฝึกฝน ฝึกซ้อม ให้สำเร็จได้
3 สติ - ความระลึกได้ คือการรู้ตัวทุกขณะ ว่ากำลังเคลื่อนไหว
4 สมาธิ - ความตั้งจิตมั่น คือ การนำจิตไปจดจ่อกับการเคลื่อนไหวในขณะนั้น
5 ปัญญา - ความรู้ชัดแจ้ง คือ น้อมนำความคิด วิธีคิดว่าขณะที่เคลื่อนไหว ต้องแก้ปัญหาขณะนั้นและคิดการณ์ล่วงหน้าเสมอ
[แก้]พลศึกษาในเชิงการศึกษา
พลศึกษาในเชิงการศึกษา เป็นส่วนขององค์ประกอบ 4 ประการ ของการศึกษา ตามหลักสูตร 2504 ประกอบด้วย 1 พุทธิศึกษา - การพัฒนาด้านสติปัญญา 2 จริยศึกษา - การพัฒนาด้านคุณธรรม 3 หัตถศึกษา - การพัฒนาทักษะ 4 พลศึกษา - การพัฒนาด้านสุขภาพกายใจ
[แก้]การศึกษา วิชาพลศึกษา สำหรับ ครูพลศึกษา
ครูนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้วางรากฐานของ โรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษา โดยกำหนดให้มีการเรียนวิชาหลัก คือ 1 มวยไทย 2 กระบี่กระบอง 3 กรีฑา ลู่ ลาน 4 ดัดตนส่วนห้อยโหน
อุปกรณ์การเล่นกีฬา
การฝึกฟุตซอล(การเลี้ยง)
ลีลาศขั้นเทพ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)