คำอธิบาย


          


                                           
                     กีฬาซีเกมส์ นั้นเดิมเรียกว่า กีฬาแหลมทอง (Southeast Asian Peninsular Games) หรือ เซียปเกมส์ (SEAP Games) ครั้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ประเทศสมาชิกในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 3 ณกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และได้จัดประชุมตกลงที่จะก่อตั้งองค์กรการกีฬาขึ้น
กีฬาแหลมทองนั้นได้รับการเสนอแนวคิดจากหลวงสุขุมนัยประดิษฐ และยังเป็นผู้ก่อตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งก็คือ การกีฬาแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งต่อมาได้เป็นรองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ข้อเสนอนั้นมีอยู่ว่า การจัดการแข่งขันกีฬาจะช่วยสนับสนุนความร่วมมือ ความเข้าใจ และความสัมพันธ์ในบรรดาประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศไทย, พม่า, มาเลเซีย , ลาว, เวียดนาม และกัมพูชา (และสิงคโปร์มาร่วมในภายหลัง) ถือเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง ประเทศเหล่านี้มีความตกลงร่วมกันที่จะจัดการแข่งขันกีฬาขึ้นแบบสองปีครั้ง และได้จัดตั้งคณะกรรมการสหพันธ์กีฬาแหลมทองขึ้น (SEAP Games Federation Committee)กีฬาแหลมทองครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 12 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) โดยมีเจ้าหน้าที่และนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 527 คน จากประเทศไทย, พม่า, มาเลเซีย, สิงคโปร์, เวียดนาม และลาว โดยมีกีฬาทั้งหมด 12 ชนิดในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 8 เมื่อ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) สมาพันธ์กีฬาแหลมทองมีมติให้รับประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์เข้าร่วมเป็นสมาชิกแข่งขันด้วย และได้บรรจุเข้าเป็นประเทศสมาชิกแข่งขันอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) และในปีเดียวกันนั้นสมาพันธ์ฯ ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Games Federation หรือ SEAGF) และเรียกการแข่งขันว่า ซีเกมส์ (Southeast Asian Games) ประเทศบรูไนนั้นได้เข้าร่วมแข่งขันในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 10 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศติมอร์ตะวันออกเป็นประเทศล่าสุดที่เข้าร่วมการแข่งขันซีเกมส์ โดยเข้าแข่งขันครั้งแรกในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 22 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม








                     
                                     Asian Game 1998(bangkok) คลิกเลย

             สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษAssociation of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน เป็นองค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซียฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,570 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคน[3] ในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ[4] คิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ[1]อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไปเมื่อไทยเสียดินแดนปราสาทพระวิหารให้กัมพูชาในปีพ.ศ. 2505 ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน ปฏิญญากรุงเทพ อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ[5] หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น[6] เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558[7]